
การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค " มาม่า" ตามรายวิชา พฤติกรรมผู้บริโภค รหัส 3542105 ผู้สอน อ. พรชณิตว์ แก้วเนตร ผู้จัดทำ นางสาวกฤษณา ญาวิละ รหัสนักศึกษา 49132798006 ตอนเรียน A1
มาม่าได้มีการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ.2516 แม้ว่าจะมีบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้ออื่นอีกในตลาดของประเทศไทย เช่น ยำยำ ไวไว ก๊งกิ๊ง และอื่นๆเป็นต้น และ "มาม่า" ได้กลายเป็นชื่อที่ติดปากของคนไทยในการกล่าวถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
มาม่าสู่ตลาดโลก
มาม่าได้มีการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ.2516 แม้ว่าจะมีบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้ออื่นอีกในตลาดของประเทศไทย เช่น ยำยำ ไวไว ก๊งกิ๊ง และอื่นๆเป็นต้น และ "มาม่า" ได้กลายเป็นชื่อที่ติดปากของคนไทยในการกล่าวถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
มาม่าสู่ตลาดโลก
นโยบายของ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) คือการผลิตสินค้าตรา “มาม่า” เพื่อผู้บริโภคทุกหลังคาเรือนและเป็นอาหารในช่วงเวลาเร่งด่วน จากจุดมุ่งหมายนั้นเองที่ชี้นำให้เราทำการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาทั้งทางด้าน รสชาติ, บรรจุภัณฑ์ และ โภชนาการ ซึ่งเป็นผลให้เราสามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งมีรสชาติหลากหลาย และบรรจุอยู่ในซองที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ การเดินทางและการสื่อสารจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายดาย ด้วยความที่อาหารไทย นับเป็นอาหารที่มีรสชาติเฉพาะตัว ดังนั้นคนไทยส่วนใหญ่มักจะนำเอาผลิตภัณฑ์มาม่าหลากรสชาติติดตัวไปด้วยยาม เดินทางไปต่างประเทศเพื่อให้แน่ใจว่ามีอาหารที่มีรสชาติคุ้นเคยติดตัว โดยผลิตภัณฑ์มาม่ารสชาติที่นิยมได้แก่ มาม่าต้มยำ, ซุปหมู, ซุปไก่, เป็ดพะโล้, เย็นตาโฟ, ข้าวซอย และผัดขี้เมา เป็นต้น รวมถึงนักท่องเที่ยว, นักเรียน-นักศึกษา และครอบครัวที่เดินทางไปต่างประเทศก็ได้นำ “มาม่า” ติดตัวไปด้วยเพื่อที่จะได้ทานอาหารรสชาติไทยๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มาม่าก้าวเข้าสู่ตลาดโลกอย่างรวดเร็วและเป็น ที่ชื่นชอบสำหรับชาวต่างชาติ
มาม่าเพื่อประโยชน์สู่สังคม
มาม่าเพื่อประโยชน์สู่สังคม
สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าความสำเร็จของ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) มาจากความร่วมมือมือใจของพนักงานทุกคนเพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและจากการ สนับสนุนของผู้บริโภค ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีนโยบายชัดเจนที่จะคืนประโยชน์สู่สังคมในทุกๆ ด้าน เท่าที่สามารถทำได้ เริ่มตั้งแต่การออกผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่ๆ บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย รวมถึงได้มีการเพิ่มธาตุเหล็ก, ไอโอดีน และวิตามินเอ ลงในผลิตภัณฑ์มาม่าทุกรสชาติ สำหรับในเรื่องของการคืนประโยชน์สู่สังคมนั้นทางบริษัทฯ ได้เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยในแต่ละปี บริษัทฯ ได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปบริจาคให้แก่หลายๆ โครงการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น โครงการบะหมี่สายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยาม บรมราชกุมารี, มูลนิธิชัยพัฒนาในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสนับสนุนสถาบันการศึกษาต่างๆ ในโครงการเสริมคุณค่าสารอาหารในบะหมี่ เช่น โครงการบะหมี่โซเดียมต่ำ เป็นต้น
พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคซึ่งจะส่งผลต่อการซื้อสินค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในกรณีที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมาม่า จะแบ่งผู้บริโภคออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ผู้บริโภคที่เป็นบุคคล ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่ซื้อแล้วนำไปบริโภคเลย เช่น นักเรียน พ่อบ้าน แม่บ้าน ที่ซื้อมาม่านำไปรับประทานเอง
2. ผู้บริโภคที่เป็นบริษัท ได้แก่ ผู้ประกอบการที่นำมาม่าไปประกอบอาหารอย่างอื่นแล้วนำไปขายให้ผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง เช่น นำเส้นมาม่าไปผัดขาย นำเส้นมาม่าไปขายในร้านก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
บทบาทของบุคคลในการตัดสินใจซื้อ ประกอบด้วย
1. ผู้ซื้อ เช่น พ่อแม่เป็นคนไปซื้อมาม่ามาไว้ที่บ้าน
2. ผู้ใช้ เช่น ลูกเป็นคนนำมาม่าไปต้มกินหรือพ่อแม่อาจจะทานเอง
3. ผู้ริเริ่ม เช่น แม่เห็นโฆษณาในโทรทัศน์จึงเกิดความสนใจซื้อ
4. ผู้มีอิทธิพล เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์ เพื่อนบ้านบอกว่ารสชาติดี เป็นต้น
5. ผู้ตัดสินใจ เช่น พ่อแม่เห็นโฆษณาทางโทรทัศน์ประกอบกับเพื่อนบ้านบอกว่ารสชาติดีจึงตัดสินใจซื้อมาไว้ให้คนในบ้านได้รับประทาน
สถานภาพของผู้บริโภค
1. ผู้ที่ไม่ใช่ผู้บริโภค เช่น เด็กทารก บุคคลที่บริโภคสินค้าที่มีส่วนผสมผงชูรสไม่ได้เพราะมาม่าส่วนมากมีส่วนผสมของผงชูรสอยู่ด้วย
2. ผู้บริโภคที่มีศักยภาพ เช่น เด็กนักเรียน คนทำงาน ร้านอาหารต่างๆ ที่ยังไม่เคยซื้อและอาจตัดสินใจซื้อในอนาคต
3. ผู้บริโภคที่แท้จริง เช่น พ่อแม่ที่ซื้อมาม่าไปไว้เพื่อประกอบอาหารในบ้าน เป็นต้น
การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ตามหลัก 6Ws และ 1H
1. ตลาดเป้าหมาย (Who) ได้แก่ นักเรียนนักศึกษา คนทำงาน พ่อบ้านแม่บ้าน จัดได้ว่าบุคคลเกือบทุกประเภทจัดเป็นตลาดเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน
2. สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (What) ได้แก่ ความสะดวกในการรับประทาน รสชาติที่อร่อย ราคาที่เหมาะสม และประโยชน์ที่ได้รับจากการบริโภค
3. ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ( Why) ได้แก่ ราคาถูก มีโปรโมชั่น เป็นสินค้าใหม่ที่น่าลองบริโภค และอาจได้รับคำแนะนำจากบุคคลอื่น เป็นต้น
4. ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ(Who) ได้แก่ ผู้ซื้อ ผู้ใช้ ผู้ริเริ่ม ผู้ตัดสินใจซื้อ ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทของแต่ละบุคคลในหัวข้อข้างต้นไว้แล้ว
5. ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด (When) ได้แก่ เวลาหิว เวลามีเงิน เวลาไปเดินช้อปปิ้ง เป็นต้น
6. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน ( Where) ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ
7. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How) จะประกอบไปด้วย ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อและการประเมินผลทางเลือก เช่นเพื่อนบ้านบอกว่ามาม่ารสหมูน้ำตกอร่อยดี เราก็อยากรู้ว่าอร่อยจริงหรือไม่ก็ไปหาซื้อมารับประทานดู ถ้าหากรสชาติถูกใจก็จะได้ซื้ออีก แต่ถ้าไม่ถูกใจก็อาจเปลี่ยนไปทานรสชาติอื่นก็ได้
สิ่งเร้า ประกอบไปด้วย สิ่งกระตุ้นภายในและสิ่งกระตุ้นภายนอก ได้แก่
1. สิ่งกระตุ้นภายในร่างกาย เช่น ความหิว
2. สิ่งกระตุ้นทางการตลาด เช่น มีการลดราคา มีของแถม มีการส่งซองไปลุ้นชิงโชคต่างๆ
3. สิ่งกระตุ้นอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ คนจนมากขึ้น แต่มาม่ามีราคาถูกและรสชาติอร่อยจึงมีคนบริโภคมากขึ้น
การตอบสนองผู้ซื้อ ผู้ผลิตควรคำนึงถึงคุณภาพ ราคา ปริมาณ และความสะดวกสบายของผู้บริโภคก่อนที่จะคำนึงถึงกำไรส่วนมากเพราะการรักษาลูกค้าไว้ให้นานย่อมดีกว่าการได้มาแล้วเสียไปโดยง่ายเพราะการไม่ถูกใจในสินค้าที่เพิ่งทดลองบริโภคนั่นเอง
การตัดสินใจ ประกอบไปด้วย
1.การตระหนักถึงความต้องการ อาจได้แก่ความหิว การเห็นโฆษณาทางโทรทัศน์จึงเกิดความต้องการที่จะบริโภคมาม่า
2. การแสวงหาข้อมูล อาจถามเพื่อนหรือคนใกล้ตัวว่ามาม่ารสชาติไหนอร่อย ราคาถูก และมีประโยชน์ในการบริโภคมากที่สุด
3. การประเมินทางเลือก จากข้อมูลที่ได้แสวงหามาก็เป็นแนวทางในการเลือกว่าจะบริโภคมาม่ารสชาติไหน หรือว่าจะบริโภคเป็นยี่ห้ออื่นที่มีทางเลือกให้เลือกมากกว่า เป็นต้น
4. การตัดสินใจซื้อ พิจารณาถึงสิ่งที่ชอบที่สุดแล้วตัดสินใจซื้ออย่างเช่น อาจรู้สึกว่าชอบมาม่ารสต้มยำกุ้งมากที่สุดก็เลยตัดสินใจซื้อมาม่าต้มยำกุ้ง
5. พฤติกรรมหลังการซื้อ เมื่อเลือกมาม่าต้มยำกุ้งแล้ว ถ้าพอใจก็จะเป็นโอกาสของผู้ผลิตที่จะยังคงลูกค้าไว้
แต่ถ้าไม่พอใจลูกค้าก็จะหันไปทานยี่ห้ออื่นเป็นการเสียลูกค้าไปอีก 1ราย
การรับรู้
ผู้ผลิตต้องสร้างแรงจูงใจและความต้องการให้เกิดกับผู้บริโภคซึ่งการรับรู้ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น ต้องทำให้ผู้บริโภครับรู้อย่างที่เราต้องการให้เขารับรู้ เช่นรูปแบบซองของมาม่าแต่ละรส อย่างรสหมูสับจะมีรูปหมูสับและผักชีตกแต่งไว้ที่ซองเป็นการสื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเขาจะได้รับรสชาติหมูสับดังที่เขาต้องการ
อย่างไรก็ตามผู้ผลิตต้องหาแนวทางที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลของสินค้าให้มากที่สุดเนื่องจากสังคมผู้บริโภคที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดความเข้าใจต่างกัน ถ้าทำให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลเหมือนๆกันได้ก็จะเป็นเป็นโอกาสในการขยายตลาดสินค้าของตัวเองให้ได้มากที่สุด
พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคซึ่งจะส่งผลต่อการซื้อสินค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในกรณีที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมาม่า จะแบ่งผู้บริโภคออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ผู้บริโภคที่เป็นบุคคล ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่ซื้อแล้วนำไปบริโภคเลย เช่น นักเรียน พ่อบ้าน แม่บ้าน ที่ซื้อมาม่านำไปรับประทานเอง
2. ผู้บริโภคที่เป็นบริษัท ได้แก่ ผู้ประกอบการที่นำมาม่าไปประกอบอาหารอย่างอื่นแล้วนำไปขายให้ผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง เช่น นำเส้นมาม่าไปผัดขาย นำเส้นมาม่าไปขายในร้านก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
บทบาทของบุคคลในการตัดสินใจซื้อ ประกอบด้วย
1. ผู้ซื้อ เช่น พ่อแม่เป็นคนไปซื้อมาม่ามาไว้ที่บ้าน
2. ผู้ใช้ เช่น ลูกเป็นคนนำมาม่าไปต้มกินหรือพ่อแม่อาจจะทานเอง
3. ผู้ริเริ่ม เช่น แม่เห็นโฆษณาในโทรทัศน์จึงเกิดความสนใจซื้อ
4. ผู้มีอิทธิพล เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์ เพื่อนบ้านบอกว่ารสชาติดี เป็นต้น
5. ผู้ตัดสินใจ เช่น พ่อแม่เห็นโฆษณาทางโทรทัศน์ประกอบกับเพื่อนบ้านบอกว่ารสชาติดีจึงตัดสินใจซื้อมาไว้ให้คนในบ้านได้รับประทาน
สถานภาพของผู้บริโภค
1. ผู้ที่ไม่ใช่ผู้บริโภค เช่น เด็กทารก บุคคลที่บริโภคสินค้าที่มีส่วนผสมผงชูรสไม่ได้เพราะมาม่าส่วนมากมีส่วนผสมของผงชูรสอยู่ด้วย
2. ผู้บริโภคที่มีศักยภาพ เช่น เด็กนักเรียน คนทำงาน ร้านอาหารต่างๆ ที่ยังไม่เคยซื้อและอาจตัดสินใจซื้อในอนาคต
3. ผู้บริโภคที่แท้จริง เช่น พ่อแม่ที่ซื้อมาม่าไปไว้เพื่อประกอบอาหารในบ้าน เป็นต้น
การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ตามหลัก 6Ws และ 1H
1. ตลาดเป้าหมาย (Who) ได้แก่ นักเรียนนักศึกษา คนทำงาน พ่อบ้านแม่บ้าน จัดได้ว่าบุคคลเกือบทุกประเภทจัดเป็นตลาดเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน
2. สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (What) ได้แก่ ความสะดวกในการรับประทาน รสชาติที่อร่อย ราคาที่เหมาะสม และประโยชน์ที่ได้รับจากการบริโภค
3. ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ( Why) ได้แก่ ราคาถูก มีโปรโมชั่น เป็นสินค้าใหม่ที่น่าลองบริโภค และอาจได้รับคำแนะนำจากบุคคลอื่น เป็นต้น
4. ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ(Who) ได้แก่ ผู้ซื้อ ผู้ใช้ ผู้ริเริ่ม ผู้ตัดสินใจซื้อ ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทของแต่ละบุคคลในหัวข้อข้างต้นไว้แล้ว
5. ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด (When) ได้แก่ เวลาหิว เวลามีเงิน เวลาไปเดินช้อปปิ้ง เป็นต้น
6. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน ( Where) ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ
7. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How) จะประกอบไปด้วย ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อและการประเมินผลทางเลือก เช่นเพื่อนบ้านบอกว่ามาม่ารสหมูน้ำตกอร่อยดี เราก็อยากรู้ว่าอร่อยจริงหรือไม่ก็ไปหาซื้อมารับประทานดู ถ้าหากรสชาติถูกใจก็จะได้ซื้ออีก แต่ถ้าไม่ถูกใจก็อาจเปลี่ยนไปทานรสชาติอื่นก็ได้
สิ่งเร้า ประกอบไปด้วย สิ่งกระตุ้นภายในและสิ่งกระตุ้นภายนอก ได้แก่
1. สิ่งกระตุ้นภายในร่างกาย เช่น ความหิว
2. สิ่งกระตุ้นทางการตลาด เช่น มีการลดราคา มีของแถม มีการส่งซองไปลุ้นชิงโชคต่างๆ
3. สิ่งกระตุ้นอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ คนจนมากขึ้น แต่มาม่ามีราคาถูกและรสชาติอร่อยจึงมีคนบริโภคมากขึ้น
การตอบสนองผู้ซื้อ ผู้ผลิตควรคำนึงถึงคุณภาพ ราคา ปริมาณ และความสะดวกสบายของผู้บริโภคก่อนที่จะคำนึงถึงกำไรส่วนมากเพราะการรักษาลูกค้าไว้ให้นานย่อมดีกว่าการได้มาแล้วเสียไปโดยง่ายเพราะการไม่ถูกใจในสินค้าที่เพิ่งทดลองบริโภคนั่นเอง
การตัดสินใจ ประกอบไปด้วย
1.การตระหนักถึงความต้องการ อาจได้แก่ความหิว การเห็นโฆษณาทางโทรทัศน์จึงเกิดความต้องการที่จะบริโภคมาม่า
2. การแสวงหาข้อมูล อาจถามเพื่อนหรือคนใกล้ตัวว่ามาม่ารสชาติไหนอร่อย ราคาถูก และมีประโยชน์ในการบริโภคมากที่สุด
3. การประเมินทางเลือก จากข้อมูลที่ได้แสวงหามาก็เป็นแนวทางในการเลือกว่าจะบริโภคมาม่ารสชาติไหน หรือว่าจะบริโภคเป็นยี่ห้ออื่นที่มีทางเลือกให้เลือกมากกว่า เป็นต้น
4. การตัดสินใจซื้อ พิจารณาถึงสิ่งที่ชอบที่สุดแล้วตัดสินใจซื้ออย่างเช่น อาจรู้สึกว่าชอบมาม่ารสต้มยำกุ้งมากที่สุดก็เลยตัดสินใจซื้อมาม่าต้มยำกุ้ง
5. พฤติกรรมหลังการซื้อ เมื่อเลือกมาม่าต้มยำกุ้งแล้ว ถ้าพอใจก็จะเป็นโอกาสของผู้ผลิตที่จะยังคงลูกค้าไว้
แต่ถ้าไม่พอใจลูกค้าก็จะหันไปทานยี่ห้ออื่นเป็นการเสียลูกค้าไปอีก 1ราย
การรับรู้
ผู้ผลิตต้องสร้างแรงจูงใจและความต้องการให้เกิดกับผู้บริโภคซึ่งการรับรู้ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น ต้องทำให้ผู้บริโภครับรู้อย่างที่เราต้องการให้เขารับรู้ เช่นรูปแบบซองของมาม่าแต่ละรส อย่างรสหมูสับจะมีรูปหมูสับและผักชีตกแต่งไว้ที่ซองเป็นการสื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเขาจะได้รับรสชาติหมูสับดังที่เขาต้องการ
อย่างไรก็ตามผู้ผลิตต้องหาแนวทางที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลของสินค้าให้มากที่สุดเนื่องจากสังคมผู้บริโภคที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดความเข้าใจต่างกัน ถ้าทำให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลเหมือนๆกันได้ก็จะเป็นเป็นโอกาสในการขยายตลาดสินค้าของตัวเองให้ได้มากที่สุด